การนำ Parallel Robot ไปใช้งาน

Parallel Robot ( Delta Robot )
Robot แบบแมงมุม ”คนไทยเรียก” โรบอทแบบแมงมุม

การนำ Parallel Robot ไปใช้งาน

การประยุกต์ใช้งานคล้ายกับสคาราโรบอท ( Scara Robot ) แต่ที่เหนือกว่า คือ สามารถบรรทุกโหลดรวมได้มากกว่าสคาราโรบอทเหมาะนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ใช้หยิบของชิ้นเล็กๆ คือพูดง่ายๆเหมาะกับงานหยิบวาง ( Pick and Place ) และเหมาะนำไปใช้หยิบของชิ้นเล็กๆที่ต้องการความเร็วสูงในการหยิบวาง และมีความเร็วสูงกว่าโรบอทแบบแขนกลและโคบอท ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารได้เช่นกัน ถ้าเป็นสินค้าแข็งชิ้นเล็กๆ เช่น ขนมปัง cracker ฯลฯ เนื่องจากโรบอทแบบแมงมุม มีความเร็วในการทำงานสูงและยังคงเสถียรภาพไว้ได้ แม้ต้องทำงานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานถ้าสภาพแวดล้อมที่ติดตั้งโรบอทอยู่ภายใต้เงื่อนไข ตามที่โรงงานระบุมารวมถึงข้อกำหนดอื่นๆที่โรงงานระบุมา

โรบอทแบบแมงมุม เหมาะที่จะนำไปใช้งานในลักษณะงานซ้ำๆและใช้ความเร็ว เช่น หยิบสินค้าจาก Conveyor1 ไปวางบน Conveyeor”หยิบด้านซ้ายไปวางด้านขวา วนลูปซ้ำแบบนี้ตลอดเวลา”
( และ Conveyor ต้อง/หรือควรอยู่ ในระนาบเดียวกัน )

เงื่อนไขการใช้งานหลักๆที่จะต้องพิจารณา เงื่อนไขหลักๆพิจารณาแบบเดียวกับสคาราโรบอท น้ำหนักของสินค้ารวมอุปกรณ์หยิบจับสินค้านั้นๆ ( Gripper ) รูปแบบการติดตั้งต้องเป็นไปตามสเปคของ โรบอทแบบแมงมุม เนื่องจากรูปแบบหรือลักษณะการติดตั้งมีผลต่อความเร็วในการทำงานของ โรบอทแบบแมงมุม เช่น ลักษณะมุมเอียงที่ใช้ในการติดตั้งตัวโรบอท ซึ่งโรบอทประเภทนี้ไม่เหมาะกับงานที่ต้องติดตั้งบนพื้นที่ที่มีความลาดเอียงมาก ระยะเอื้อมถึงหรือระยะที่โรบอทยืดแขนไปได้ไกลสุด

ข้อด้อยหลักของโรบอทแบบแมงมุม คือ โดยส่วนใหญ่ ถ้าเป็นรุ่นที่สามารถยกของได้มากกว่า 3 กิโลกรัมขึ้นไป ตัวโรบอทจะมีน้ำหนักตัวมากเป็น 100 กิโลกรัมขึ้นไปและต้องใช้โครงสร้างในการติดตั้งที่แข็งแรงมาก ( เช่น ใช้เหล็กหนาในการทำเฟรม ) และติดตั้งได้แบบเดียว คือ ติดห้อยลง( เหมือนติดกับฝ้าเพดาน ) เรียกว่า Ceiling