มอเตอร์เกียร์ Gear Motor

Sunrobotics&ai จำหน่าย มอเตอร์เกียร์ Gear Motor แบรนด์ต่างๆ ในราคาส่งจากโรงงาน ทุกอัตราทด มีการรับประกันในประเทศไทย สินค้ามาตรฐานอุตสาหกรรม สำหรับงานส่งกำลังต่างๆ ซื้อกับเรามั่นใจกว่าด้วยการให้บริการในระยะยาวการันตีได้จากลูกค้าชั้นนำมากมายของเรา จำหน่ายมายาวนานเป็นที่รู้จักในแวดวงอุตสาหกรรมไทยมากว่า20ปี มีสต๊อกชิ้นส่วนอะไหล่ไว้บริการหลังการขาย

zd motor
motorgear_suntech

มอเตอร์เกียร์ คืออะไร? และมอเตอร์เกียร์แบ่งเป็นกี่ประเภท

มอเตอร์เกียร์ (Gear Motor) จัดเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทหนึ่ง มีหลักการทำงานคือแปลงจากพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล ชุดเกียร์ทดจะมีชุดเฟืองซ้อนกันเพื่อทำหน้าที่ลดความเร็วรอบของมอเตอร์ ทำให้เกิดการเพิ่มของแรงบิด มอเตอร์เกียร์ นิยมใช้ในงานส่งกำลังต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องจักรต่างๆแทบทุกชนิด


มอเตอร์เกียร์ที่นิยมใช้ แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 3ประเภท

มอเตอร์เกียร์ตรง Helical Gear ลักษณะของเกียร์จะเป็นฟันเฟืองแบบเฉียงเรียงซ้อนกันเพื่อเพิ่มแรงบิดและลดรอบ ให้แรงบิดที่สูง ทนทาน นิยมใช้กันมากที่สุด ทั้งแบบเกียร์ขาตั้ง HORIZONAL (Foot) และแบบเกียร์หน้าแปลน VERTICAL (Flange) มอเตอร์เกียร์เพลาคู่ (Reducer Double Shaft Gear Motor) หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า มอเตอร์เกียร์ 2 เพลา จัดว่าอยู่ในหมวด Helical Gear ทั้งหมด

มอเตอร์เกียร์ไซโคไดรฟ์ (Cyclo drive Gear) ต่างจาก Helical Gear คือ การใช้จานดิสก์ Cycloid Disc ที่หมุนเยื้องศูนย์ (off-center) ร่วมกับหมุด pins (Slow speed shaft pins) โดยจะหมุนสลับกันมีแบริ่งลูกเบี้ยว (Eccentric Cam) เพื่อกระจายแรงโหลด ทำให้ความเร็วลดลงและเพิ่มแรงบิด รับ Shock Load ได้ดีว่าเกียร์แบบทั่วไป

มอเตอร์เกียร์ bevel (Bevel Gear Motor) ชุดเฟืองมีทั้งแบบเฟืองดอกจอก ในบางรุ่นจะเป็นการผสานกันระหว่างเฟืองดอกจอกและเฟืองเฉียง (Helical) หรือแบบฟันตรง มักใช้ในงานที่ต้องการการส่งกำลังแบบทำมุม 90 องศา มีเสียงรบกวนการทำงานที่น้อย ให้แรงบิดสูง


หลักในการเลือก มอเตอร์เกียร์

ก่อนจะซื้อมอเตอร์เกียร์ ต้องรู้อะไรบ้างเพื่อให้เลือกได้อย่างถูกต้อง และตรงกับลักษณะงานมากที่สุด

  1. กำลังแรงม้า (HP) หรือกำลังวัตต์ (KW) ของมอเตอร์เกียร์
    
    2. ความเร็วรอบที่ใช้งานหรือ (RPM) ว่าอยู่ที่กี่รอบต่อนาที
    
    3. แรงบิดหรือ Torque นิยมใช้หน่วยเป็น T นิวตันเมตร (Nm) โดยคำนวนหาแรงบิดจาก 9.55(ค่าคงที่) x P=กำลังมอเตอร์(W) / N=ความเร็วรอบมอเตอร์(RPM) ยกตัวอย่าง มอเตอร์ 750W ความเร็ว 50RPM = 9.55 x 750 / 50 จะได้แรงบิดเท่ากับ 143.2 Nm


การให้บริการหลังการขาย

อีกหนึ่งอย่างที่ควรให้ความสำคัญมากๆ เพื่อให้การใช้งาน มอเตอร์เกียร์ ในระยะยาวได้อย่างสบายใจ คุ้มค่าการลงทุน

เงื่อนไขการรับประกัน

ชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆ

ค่าบริการซ่อมแซม

มอเตอร์เกียร์รุ่นต่างๆ ที่ได้รับความนิยม

suntech sale

มอเตอร์เกียร์ลดราคา 50%

suntech sale

มอเตอร์เกียร์ลดราคา 50%

มอเตอร์เกียร์มิตซูบิชิ และมอเตอร์เกียร์ CycloDrive SF-QRGC , SF-QRGH มิตซูบิชิ CNHM ออกแบบมาสำหรับงานที่สมบุกสมบันรองรับแรงสั่นสะเทือนได้มากพิเศษ
รูปร่างกระทัดรัด ความเร็วสูงกว่าคือ 2500-3000RPM ซึ่งมากกว่ามอเตอร์ AC ทั่วๆไปในส่วนของประสิทธิภาพนั้นจะต่างจากมอเตอร์ AC ทั่วๆไป
มอเตอร์เกียร์ CYCLO DRIVE ออกแบบมาสำหรับงานที่สมบุกสมบันและรองรับแรงสั่นสะเทือนได้มาก เหมาะสำหรับงานบด งานโม่ ที่ต้องทนทานพิเศษ
มอเตอร์เกียร์ Mitsubishi SF-QRGH มิตซูบิชิ แบบ Horizontal Type ขายึด 3PHASE แรงดันไฟ 380V ขนาดตั้งแต่ 1/2HP - 10HP อัตราทดมีตั้งแต่ 1:3 - 1:60
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current Motor) หรือมอเตอร์เกียร์ AC ก็คือการนำมอเตอร์มาสวมเข้ากับ เกียร์ทด (Gear Head) เพื่อลดความเร็วรอบของมอเตอร์
มอเตอร์รุ่นนี้ไม่สามารถติดเบรคเพิ่มได้ D.C. Motor คือ มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง ( Direct current motor ) ที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล
การเลือกใช้ในงานในอุตสาหกรรม หรืองานส่งกำลังต่างๆ มีให้เลือกใช้งานกันอย่างแพร่หลายโดยที่เราจะพูดถึงนี้เป็นมอเตอร์เกียร์ อุตสาหกรรม
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ ( Alternating Current Motor) เลือกใช้งานอย่างไร เหมาะกับงานประเภทไหน ที่เราจะแนะนำนี้คือ มอเตอร์ AC แบรนด์ SUNTECH

ใช้มอเตอร์เกียร์ ดียังไง?

ในปัจจุบันมอเตอร์เกียร์ มีหลายหลายแบบให้เลือกใช้งาน ให้ความเร็วรอบที่แม่นยำควบคุมแรงบิดได้ตามต้องการ มีความทนทานและขนาดตัวที่ไม่ใหญ่มาก ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง รวมถึงการบำรุงรักษาที่ง่ายและราคาประหยัด ซัน โรโบติกส์ แอนด์ เอไอ มี มอเตอร์เกียร์หลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้เหมาะกับชนิดงานของคุณ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายขายของเรา

เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ